เผยจุดแข็ง จุดอ่อน ของธุรกิจสปาในประเทศไทย ที่หลายๆ คนมองข้าม สปาเกือบทุกประเภทมักจะมีการนวดแผนไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการบริการ เนื่องจากประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการนวดแผนไทยที่แพร่หลายไปทั่วโลก และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดเป็นจำนวนมาก

โดยในประเทศไทยมีสมุนไพรมากกว่า 100 ชนิด และมีเกษตรกรที่เพาะปลูกสมุนไพรอยู่หลายจังหวัด สมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปาได้ ช่วยลดการนำเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศซึ่งเป็นการส่งเสริธุรกิจสปาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งยังมีน้ำพุร้อนจากธรมชาติประมาณ 100 แห่ง แหล่งน้ำพุร้อนที่มีอยู่สามารถพัฒนาให้เป็นสถานบริการสปา Mineral Spring Spa หรือ Resort Spa ได้ นับว่าเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของธุรกิจสปาในประเทศไทย

คนไทยมีนิสัยอ่อนน้อม สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส และรักงานบริการ การทำธุรกิจสปาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ดังนั้นบุคลิกภาพและอุปนิสัยของนไทยจึงมีส่วนสำคัญที่จะเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจประเภทนี้เป็นอย่างยิ่ง และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีธรรมะช่วยขัดเกลาจิตใจ ธุรกิจสปาเป็นเรื่องของการสรางความสงบสุขให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่าสังมไทยเหมาะแก่การทำธุรกิจสปามากเป็นพิเศษ แต่เนื่องจากหลายแห่งแฝงบริการอื่นด้วย

ธุรกิจสปายังมีลักษณะเป็นการหันกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบธรรมชาติ และอาศัยสิ่งที่เป็นธรรมชาติแท้ๆ เพื่อสร้างความสงบสุขและบูรณาการให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ สังคมไทยจึงเหมาะต่อการทำธุรกิจสปามากกว่าสังคมตะวันตก ในการทำธุรกิจสปา ต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ผลไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ พืชสมุนไพร เป็นต้น สิ่งเหล่านีประเทศไทยมีพร้อมอยู่แล้ว จึงข่วยประหยัดเงินทุนในการทำธุรกิจสปาได้ โดยมรดกวัฒนธรมประจำท้องถิ่นถือเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจสปาในประเทศไทย

ทั้งนี้รัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ทั้งยังต้องการให้ธุรกิจสปาเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ธุรกิจสปาจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ ในประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีประชากรผู้ใช้แรงงานและคนหนุ่มสาวจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสดีที่นำบุคคลเหล่านี้มาพัฒนาและฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจสปา ทั้งหมดนี้เป็นจุดแข็งอย่างยิ่งที่จะต้องมีในการดำเนินธุรกิจการทำสปา

ธุรกิจสปาในประเทศไทย

สำหรับจุดอ่อนนั้นบุคลากรในธุรกิจสปา เช่น ผู้จัดการ พนักงานบริการ มีค่อนข้างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ อีกทั้งคนไทยมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาไม่ดีเท่าใดนัก ทำให้มีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้การบริการไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ โดยถึงแม้ประเทศไทยจะมีสมุนไพรและเกาะแก่งมากมาย แต่ถ้าเปรียบกับประเทศอินโดนีเซียแล้วจัดว่าเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขาม เนื่องจากเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวนิยมไปใช้บริการสปามากที่สุดในแถบเอ เซียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศไทย

ปัญหาผูก่อการร้ายที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจสปา เพราะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ธุรกิจสปาในเมืองไทยปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะสนองความต้องการของกลุ่มคนชั้นกลางและชั้นสูง ดังจะเห็นได้จากค่าบริการของ Hotel และ Resort Spa ที่อยู่ในระดับที่สูง และผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มักเป็นชาวต่างชาติ เมื่อชาวต่างชาติไม่มาเที่ยวประเทศไทย อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจสปาอย่างแน่นอน

โดยสปาหรูติดอันดับ top ten ในเมืองไทยมีไม่กี่แห่ง ดังนี้

Aana Resort รีสอร์ทหรูเปิดใหม่ ปี 48 ไม่ติดหาด ตกแต่เป็นสวนไล่ระดับเป็นชั้น ที่ตั้ง เกาะช้าง จ.ตราด
Paradee รีสอร์ทระดับ 5 ดาวขึ้นไป อยู่อ่าวกิ่ว เกาะเสม็ด ที่ตั้ง เกาะเสม็ด จ.ระยอง
สมเกียรติบุรี รีสอร์ท แอนด์ สปา รีสอร์ทเปิดใหม่ได้ปีกว่าอีกแห่ง มีจำนวนเพียง 20 กว่าห้อง แฝงดัวกับหมู่ตันไม้ในบริเวณรอบล้อมด้วยป่าธรรมชาติขนาดย่อม เห็นภูเขาปูนสุงใหญ่อยู่ไม่ไกล จุดเด่น สปาและสระว่ายน้ำที่ล้อมรอบด้วยหมู่ต้นไม้และเสียงนกร้อง ที่ตั้ง อ่าวนาง (ไม่ติดทะเล) จ.กระบี่
Eravana Spa Resort – Pattaya รีสอร์ทเปิดใหม่ ปี 48 ระดับ 5 ดาว เหมาะสำหรับผู้รับธรรมชาติ สะอาดและเงียบสงบ ที่ตั้ง ชายหาดจอมเทียน
ภูใจใสรีสอร์ท แอนด์สปา รีสอร์ทเปิดใหม่ บนดอย ตกแต่งกลมกลืนกับธรรมชาติที่สุด ตามสไดล์เจ้าของรีสอร์ทผู้รักสันโดษ สดชื่นกับธรรมชาติสีเขียว เสียงนกร้อง สปาท่ามกลางขุนเขา ที่ตั้ง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ห่างตัวเมืองประมาณ 20 กม
อลีนตา รีสอร์ท แอนด์ สปา (ปราณบุรี) ราคาค่อนข้างแพงพอดูสำหรับคนไทย ตกแต่งอย่างดีสมกับราคา รีสอร์ทเปิดใหม่ ติดชายหาด มีห้อง pool suite สระว่ายน้ำขนาดย่อมหน้าห้อง เต็มตลอดทั้งปี แม้วันธรรมดา มีแพ็คเก็จสปาหลายชนิดให้เลือก ที่ตั้ง ปราณบุรี จ.ประจวบฯ

ธุรกิจสปาในประเทศไทย

ตลาดธุรกิจสปาในประเทศไทย

ธุรกิจสปาเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ช่วงนั้นสปาเป็นเพียงธุรกิจที่แฝงตัวอยู่ภายในฏฃโรงแรมหรูเพื่อรองรับนัก ท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก และไม่มีลักษณะเป็นธุรกิจเชิงพานิชย์เท่าใดนัก ปัจจุบันนอกจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่แสวงหาบริการด้านสปาแล้ว คนไทยเองก็ให้ความสนใจไม่แพ้กัน ส่งผลให้ธุรกิจสปามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจสปาในประเทศไทยจึงมีผู้ประกอบการที่เป็นชาวไทย และผูประกอบการชาวไทยที่ร่วมลงทุนกับชาวต่างชาติ โดยเลือกลงทุนให้บริการสปาในโรงแรม รีสอร์ท หรือตามแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ

กระแสการให้ความสำคัญต่อสุขภาพอย่างจขริงจังของคนไทย ทำให้ธุรกิจสปาเริ่มขยับตัวออกจากโรงแรม และขยายตัวอย่างรวดเร็วในย่านธุรกิจและแหล่งท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบ และเป็นที่จับตากันว่าธุรกิจสปาจะเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ที่มีศักยภาพการเติบโตสูงต่อไป จากที่เคยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ20-30 ต่อปี ธุรกิจสปาสามารถดึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ไม่ต่ำกว่า 24,000 ล้านบาท

และธุรกิจสปาขนาดเล็กที่เป็นตลาดของคนไทยมีกำลังบริโภค ประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี คาดว่ารายได้จากธุรกิจสปาในตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศในส่วนนี้น่าจะขยายตัว ได้อีก เนื่องจากความต้องการมีโอกาสเติบโตตามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ภาครัฐให้การ ส่งเสริมและสนับสนุนมาโดยตลอด ทั้งยังเป้นหนึ่งในธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ที่ภาครัฐกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเซีย ปี 2546-2554 และนำรายได้เข้าประเทศไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท

แนวโน้มเกี่ยวกับความสนใจในการดูแลสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของคนไทยในกลุ่ม ชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70 ของประชากรไทยทั้งหมด เป็นโอกาสให้ธุรกิจสปาขยายตัวสู่ตลาดระดับกลางซึ่งมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่พำนักอยู๋ในประเทศไทย รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อระดับปานกลางขึ้นไป โดยผู้ประกอบการธุรกิจสปาส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย เปิดดำเนินธุรกิจอยู่ในเมืองใหญ่ หรือย่านธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่สปาที่อยู๋นอกโรงวแรมแต่จับตลาดบน และสปาขนาดเล็กที่จับตลาดระดับรองลงมา

“ธุรกิจสปาไทยยังมีแนวโน้มเติบโตน่าสนใจ แม้ที่ผ่านมาจะมีการเปิดตัวสปาขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่โอกาสธุรกิจนี้ยังคงมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจุบันกำลังเดินมาถึงยุคของการปรับตัวที่เน้นจุดเด่นเรื่อง เอกลักษณ์และบริการที่แตกต่าง โดยในปี 2549 เชื่อว่าตลาดสปายังมีโอกาสเติบโตสูงถึง 20-25%

เนื่องจากประเทศไทย สร้างความเชื่อมั่นด้านชื่อเสียงของสปาอันดับ 1 ในเอเซียมาแล้วระยะหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาในอุตสาหกรรมทั้งในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และสินค้าสำหรับสปาที่มีการเติบโตและขยายธุรกิจสู่การส่งออกไปยังต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง”

แนวโน้มการพัฒนาธุรกิจสปาเพื่อการแข่งขันในปี 2549 เชื่อว่าผู้ประกอบการจะนำจุดเด่นที่มี มานำเสนอเป็นจุดขาย หรือสร้างเอกลักษณ์ให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดสปารูปแบบใหม่ๆ

นอกจากนี้การขยายฐานลูกค้าสปาไปยังผู้ชาย หรือในกลุ่มเมโทรเซ็กช่วล ซึ่งถือว่าเป้นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอัตราการเติบโตสูงนั้น จะเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้ตลาดสปาเติบโตมาก จนเชื่อว่าจะเกิดสปาเฉพาะกลุ่มผู้ชายให้เห็นในปี 2549 โดยเฉพาะโรงแรมต่างๆ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าผู้ชายเมโทรเซ็กช่วลที่มักอยู่ในอาชีพผู้บริหารเป็น หลัก (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 ธันวาคม 2548 หน้า 23)

ปัจจุบันสปาไทยมีการเติบโตปีละกว่า 30% จากสปาที่ได้มาตรฐานทั้งหมด 500 แห่งทั่วประเทศ แต่ขณะเดียวกันในจำนวนดังกล่าวยังมีประมาณ 200 แห่งที่ยังมีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการสปาที่ถูกต้อง

สำหรับรายได้จากผู้ใช้บริการสปาไทยโดยรวม คาดว่าปี 2548 อยู่ที่ 7,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีรายได้รวมแล้วกว่า 5,000 ล้านบาท เป็นชาวต่างชาติ 80% และชาวไทย 20% ขณะที่ตลาดรวมเติบโตปีละประมาณ 20%

ด้านปัจจัยลบตั้งแต่ต้นปี 2548 พบว่าการเติบโตของนักท่องเที่ยวชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยคาดว่าปี 2549 จะมีการเติบโตที่ดีกว่านี้ เนื่องจากมีการสนับสนุนจากรัฐบาลและ ททท. เป็นหัวหอกหลักในการผลักดันนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สปาไทยเติบโตขึ้นได้