ในขณะที่ราคาทองคำในตลาดโลกพุ่งพรวดๆ และในเมืองไทยเราบางกระแสก็ว่าอาจทะลุถึงบาทละ 18,000 บาท เมื่อมีรายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมว่ามีบริษัทเอกชนบริษัทต่างชาติหลายรายสนใจเข้ามาลงทุนสำรวจสายแร่ทองคําในประเทศไทย เพื่อทำเหมืองทองคำ ซึ่งยุคทองแพงอย่างนี้
เรื่องนี้ยิ่งน่าสนใจทีเดียว ประกอบกับ บริษัทจัดการกองทุนรวมหลายๆ บริษัทจัดการ มีแนวคิดที่จะเพิ่มจำนวนกองทุนที่ลงทุนในทองคำกันมากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการออม ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปนั้น นับวันก็จะยิ่งทวีคูณกันมากขึ้น กลับกันผลประกอบการของกองทุนน้ำมันที่หล่นเตี้ยติดดิน ก็ดูจะมีแนวโน้มยิ่งหล่นลงไปเรื่อยๆ แต่กระนั้น การลงทุนส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่กองทุนตราสารหนี้เป็นหลัก เพื่อความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยังจะพอรับไหว กลับมาว่ากันในเรื่อง เหมืองทองคําในประเทศไทย ต่อ
คงมีไม่น้อย…ไม่งั้นคงไม่ถึงขั้นทำเหมือง !!
ทองคำ เป็นแร่ธาตุโลหะทรานซิชั่น สีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืด และตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ที่สำคัญ…ในแวดวงการเงินระหว่างประเทศทองคำนั้น “ใช้เป็นทุนสำรองทางการเงิน” ของหลายประเทศ นอกเหนือไปจากการใช้ประโยชน์ในการเป็นเครื่องประดับแสดงฐานะ ใช้ในงานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากคุณสมบัติของทองคำ ที่มีความแวววาวอยู่เสมอ เนื่องจากทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองก็จะไม่หมองและไม่เกิดสนิม ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้ทำให้ทองคำกลายเป็น “แร่โลหะที่มีค่ามากที่สุด” ในปัจจุบัน เมื่อเทียบน้ำหนักและปริมาณกับแร่ธาตุโลหะชนิดอื่น ๆ
สายแร่ทองคําในประเทศไทย…ไม่นับรวมกรณี ทองโกโบริ-ทองกองทัพญี่ปุ่น ที่ผ่านๆ มาก็มีข่าวมาโดยตลอดว่าพบทองคำในธรรมชาติที่จุดนั้น-จุดนี้ แล้วก็เงียบ ๆ ไป อย่างไรก็ตาม แหล่งสายแร่ทองคำหรือแหล่ง แร่ทองคำในเมืองไทยเรานั้น “มีอยู่จริง-มีอยู่หลายจุด” และปัจจุบันนี้ก็มีการขุดในลักษณะการทำเหมืองกันบ้างแล้ว…
ทั้งนี้ ข้อมูลจากแผนที่ทรัพยากรแร่ แสดงพื้นที่แร่ทองคำที่สำคัญในประเทศไทย ของสำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในไทยมีแหล่งทองคำ ในปริมาณมากอยู่อย่างน้อย 10 แหล่ง เท่าที่พบตอนนี้อยู่ทางภาคเหนือมากที่สุด 8 แหล่ง และภาคอีสาน ภาคใต้ มีภาคละ 1 แหล่ง โดยในเขตภาคเหนือแหล่งแร่ทองคำที่สำคัญมีอยู่ที่จังหวัด…พิจิตร, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, ลำปาง, แพร่, เชียงราย โดยเฉพาะที่พิจิตร และลำปาง มีจังหวัดละ 2 แหล่ง ขณะที่ภาคอีสานมีอยู่ที่ เลย และภาคใต้ ที่ ประจวบคีรีขันธ์ จากทั้ง 10 แหล่งนี้ แหล่งที่ถูกสำรวจและ พัฒนาจนถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมเหมืองผลิตทองคำแล้วมี 2 จุด คือ ?แหล่งแร่ทองคำชาตรี? ที่พิจิตร มีบริษัท อัครา ไมนิ่ง ได้รับประทานบัตร และอีกแหล่งคือ “แหล่งภูทับฟ้า” ซึ่งอยู่บริเวณ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย มีบริษัทเอกชนชื่อทุ่งคำ ได้รับประทานบัตรทำเหมืองทองคำ
สำหรับแหล่งทองคำชาตรีนั้น ได้รับประทานบัตรทำเหมืองมาตั้งแต่ปี 2544 ครอบคลุมพื้นที่ 1,200 ไร่ หลังการสำรวจพบแหล่งแร่ทองคำซึ่งเป็นสายแร่ควอตซ์แทรกอยู่ในหินภูเขาไฟ โดยมีปริมาณสินแร่ประมาณ 14.5 ล้านตัน และมีปริมาณทองคำเฉลี่ย 2.6 กรัม และเงิน 13.3 กรัม ต่อสินแร่หนัก 1 ตัน ปริมาณสินแร่ระดับนี้ เมื่อสกัดออกมาจนเป็นทองคำก็จะมีปริมาณ 32 ตัน หรือหากเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม…ทองคำที่ได้จากแหล่งนี้จะมีราว 32,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท !!
ส่วนแหล่งภูทับฟ้า มีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2534 โดยมีการพบปริมาณเนื้อหินปนแร่ทองคำประมาณ 1 ล้านตัน เมื่อสกัดสินแร่ออกมาต่อน้ำหนักหิน 1 ตัน จะพบแร่ทองคำประมาณ 5 กรัม รวมน้ำหนักทองคำทั้งหมดที่จะสกัดได้ก็จะประมาณ 5 ตัน หรือ 5,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าในปัจจุบันเกิน 2 พันล้านบาทขึ้นไป !! นอกจากทั้ง 2 แหล่งที่มีการทำเหมืองไปแล้ว แหล่งสายแร่ทองคำ ซึ่งถูกกล่าวขานในวงกว้าง คนไทยพอจะคุ้นหู มีอาทิ…”แหล่งแร่ทองคำบ้าน ป่าร่อน” หรือที่รู้จักกันในชื่อแหล่งทองบางสะพาน ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์, “แหล่ง ทองคำบ่อทอง” ในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี และ “แหล่งทองคำโต๊ะ โมะ” ในพื้นที่ จ.นราธิวาส และอีกแหล่งที่มีการดำเนินการจนพบภายหลังว่ามีสายแร่ทองคำอยู่จริง ๆ และเกิดเป็นกระแส “ตื่นทอง-แห่ขุดทอง” ในระดับชาวบ้าน เป็นข่าวเกรียวกราวอยู่ยุคหนึ่ง ก็คือ ?แหล่งทองคำเขาพนมพา? ที่ ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร ที่ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเป็นผู้รับดำเนินการ โดยกรมทรัพยากรธรณีได้ทำการ สำรวจในชั้นเปลือกดินหรือไม่ลึกมากนักจากผิวหน้าดิน พบว่ามีทองคำประมาณ 360 กิโลกรัม มูลค่าในขณะนั้นประมาณ 120 ล้านบาท !!
อย่างไรก็ตาม ย้อนดูสถิติปริมาณการผลิตทองคำที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม รวบรวมไว้ระหว่างเดือน พ.ย. 2544 ที่เริ่มมีการทำเหมืองทองอย่างจริงจัง ในไทย จนถึงปี 2546 ในปี 2544 มีการผลิตทองคำได้ประมาณ 0.31 ตัน มูลค่า 124.69 ล้านบาท, ปี 2545 ผลิตได้ 4.95 ตัน มูลค่า 2,123.12 ล้านบาท และปี 2546 ผลิตได้ 4.43 ล้านตัน มูลค่า 2,117 ล้านบาท รวมแล้ว 9.69 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,364.81 ล้านบาท ถือว่ายังน้อยหากเทียบกับจำนวนแหล่งแร่ทองคำ ซึ่งคาดว่าน่าจะผลิตได้อีกมาก
แห่งขายแร่ทองคำในประเทศ
ส่วนใหญ่สอบถามจากร้านทองหรือร้านรับซื้อทองใหญ่ๆ จะมีแหล่งรับซื้ออยู่ไม่กี่แห่ง ร้านทองส่วนใหญ่รับซื้อเพื่อสกัดเป็นทองคุณภาพและมีช่างทองเป็นของตนเอง
เหมืองทองคำที่ดำเนินกิจการแล้วในประเทศไทย
เหมืองทองชาตรี ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร รอยต่อกับ จ.เพชรบูรณ์ เป็นเหมืองที่เข้ามาประกอบการโดยเอกชนเป็นแห่งแรกของประเทศ โดย บริษัทอัคราไมนิ่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ คือคิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ถือหุ้นใหญ่โดยนักธุรกิจชาวออสเตรเลีย ขุดทองคำ 99.99 % ได้เดือนละประมาณ 5 ตัน มีระบบป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมค่อนข้างรัดกุม ครอบคลุมพื้นที่ 1,200 ไร่ คาดว่าจะมีทองคำทั้งหมด 32 ตัน มูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านบาท และเงิน 98 ตัน มูลค่า 600 ล้านบาท
เหมืองแร่ทองคำของบริษัททุ่งคำ ต.เขาหลวง อ. วังสะพุง จังหวีดเลย ซึ่งถือว่าเป็นเหมืองแร่ที่ดำเนินกิจการโดยเอกชนแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ได้รับประทานบัตรดำเนินกิจการเหมืองแร่จากกรมทรัพยากรธรณีเมื่อปี 2538 จำนวน 6 แปลง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 1,038 ไร่ 3 งาน มีปริมาณแร่ทองคำมูลค่าสูงสุด 1,053,704,803 ล้านบาท ปริมาณแร่ปานกลางมูลค่า 824,635,464 ล้านบาท และปริมาณแร่ต่ำสุดมูลค่า 639,171,700 ล้านบาท เป็นเหมืองหาบ (Open pit) ดำเนินการร่วมกันระหว่าง บริษัท นิวกีนี ไมนิ่ง จำกัด (ออสเตรเลีย) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ร่วมหุ้นของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด
ข้อมูลเหมืองทองคำที่จังหวัดเลย
ความจริงที่คนเมืองเลยต้องรู้ กรณีขอประทานบัตรเหมืองทองคำกว่า 30,000 ไร่ เหมืองทองคำเมืองเลย กว่า30,000 ไร่ กำลังยื่นขอประทานบัตร คำถามคือพอคนเมืองเลยรู้แล้วจะยังไงต่อไป เหมืองทองคำจะค่อยๆ รุกไล่ ตีวงล้อมโอบเราเขามา เราจะกอดอกนั่งทำตาปริบๆ รับผลกระทบและชะตากรรม ที่เราไม่ได้ก่อกระนั้นหรือ คนเมืองเลยทำส้วมไว้บนทองคำ ถ้าไม่ห่วงเรื่องผลกระทบเราเจาะและขุดได้ทุกตารางนิ้วของพื้นแผ่นดินเมืองเลย
เป็นคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งของอุตสาหกรรมจังหวัดเลย จากเหตุการณ์การตั้งคำถามของกลุ่มสื่อรักษ์เมืองเลย กรณีตรวจสอบเหมืองทองทุ่งคำ หลังจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 อุดรธานี แจ้งผลการตรวจคุณภาพลำน้ำฮวย ว่าพบไซยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน โดยเรื่องนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมเข้ามาตรวจสอบซึ่งมีการประ ร่วมกันถึง 4 ครั้ง ใน 13 ประเด็น ทางบริษัทฯได้ปรับปรุงแก้ไขตามที่ประชุมเป็นที่พอใจและถูกต้องตามมาตรฐาน ทางมูลนิธิฯ โดยคุณยุทธนา วงศ์โสภา ก็มาร่วมประชุมด้วย
แต่จนแล้วจนรอดเหมืองทองคำเมืองเลยยังเดินหน้าทำงานต่อไป ระเบิด ขุด เจาะ บด แยกแร่ ปริมาณไซยาไนด์มหาศาลบนภูทัพฟ้า วิกฤตและระเบิดเวลาที่รอวันถึงจุดระเบิด ส่อเค้าสร้างปัญหา ข้าวในไร่นาชาวบ้านล้มตายเก็บเกี่ยวผลผลิตลดน้อยลง เนื่องจากเมล็ดข้าวลีบ ยางพาราน้ำยางลดลง ชาวบ้านรอบเหมืองขวัญผวา ไม่กล้ากินน้ำฝน และปูปลาอาหารในลำน้ำฮวย
สรุปว่าเมืองเลยก็มีทอง คนตื่นทองขุดจนเมืองเลยพังพินาศ