ผู้มีเงินได้ส่วนใหญ่ในประเทศไทย จำเป็นต้องทำตามกฏหมายที่บัญญัติไว้ นั่นคือ การเสียภาษีเงินได้ ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล วันนี้ จะมาบอกข้อมูลเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้เฉพาะของบุคคลธรรมดา ที่มีเงินได้และต้องเสียภาษี มีค่าลดหย่อนสำหรับปีภาษี 2553

ซึ่งในการยื่นชำระภาษีนั้นสามารถยื่นได้ไม่เกินเดือนมีนาคม ส่วนจำนวนเงินที่ต้องยื่น ก็แล้วแต่ของใคร แต่ค่าลดหย่อนต่างๆ ที่รัฐบาลยุคมาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เอาใจประชาชนตาดำๆ ได้หลายรายการ สามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้

  • 1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวของผู้มีเงินได้ 30,000 บาทแรก หักลบไปเลย
  • 2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสของผู้มีเงินได้ เฉพาะคู่สมรสไม่มีเงินได้ หักไปอีก 30,000 บาท ส่วนถ้าคู่สมรสมีเงินได้ และจดทะเบียนในปีที่ยื่น หักไม่ได้จ้า ส่วนที่จดทะเบียนปีก่อนหน้านั้น ถ้าจะหักต้องยื่นภาษีรวมกัน แยกยื่นหักไม่ได้จ้า

หมายเหตุ

2.1 ผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศไทยระยะเวลารวมกันถึง 180 วันในปีภาษี หักลดหย่อนคู่สมรสได้ทั้งที่เป็นผู้อยู่ในไทยหรือต่างประเทศ
2.2 ผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศไทยระยะเวลารวมกันไม่ถึง 180 วันในปีภาษี หักลดหย่อนคู่สมรสได้ทั้งที่เป็นผู้อยู่ในไทยเท่านั้น

  • 3. ค่าลดหย่อนบุตร 15,000 บาท หรือมีลูกกี่คน ก็หักไปเต็มที่ 15,000 บาท

หมายเหตุ

บุตรที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2523 หักได้ทุกคน ถ้าเกิดในปี พ.ศ. 2523 หรือหลังกว่านั้น หักได้ไม่เกิน 3 คน อายุไม่เกิน 20 ปีหากไม่ศึกษาสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ บุตรอายุไม่เกิน 25 ปีหากกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หักเพิ่ม ได้ 2,000 บาท เลยกลายเป็นหักได้ คนละ 17,000 บาท (เฉพาะที่กำลังศึกษาอยู่)

  • 4. ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตร ที่เรียนในประเทศไทยเท่านั้น หักไปเลย เต็มที่ 2,000 บาท
  • 5. ค่าลดหย่อนบิดามารดา 4 คน 30,000 บาท หรือ 2 คนก็ 30,000 บาท (นับพ่อแม่คู่สมรสด้วย) ยกเว้นจะแยกกันยื่นก็ของใครของมัน

หมายเหตุ
5.1 อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
5.2 รายได้ต่อปี ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
5.3 ไม่ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน
5.4 มีหนังสือรับรองว่าเป็นบุตรที่เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงผู้เดียว ถ้ามีพี่น้องและคนในครอบครัวยื่นอุปการะไปแล้ว ไม่สามารถยื่นซ้ำได้จ้า

tax-time ค่าลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา 53

  • 6. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา เฉพาะบิดามารดาที่มีรายได้ต่อปี ไม่เกิน 30,000 บาท หักไปอีกไม่เกิน 15,000 บาท
  • 7. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท

หมายเหตุ
7.1 กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
7.2 กรมธรรม์ที่ไม่ได้กำหนดอายุกรมธรรม์ / กำหนดไว้ตลอดชีพ จะต้องระบุระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกันตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
7.3 ผู้รับประกันประกอบกิจการประกันชีวิตในประเทศไทย

  • 8. ค่าลดหย่อนเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ หรือไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF
  • 9. ค่าลดหย่อนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF ไม่ต่ำกว่า 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • 10. ค่าลดหย่อนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF ไม่เกิน 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • 11. ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่ กู้ยืมจาก ธนาคาร, บริษัทเงินทุน, บริษัทหลักทรัพย์, เครดิตฟองซิเอร์, บริษัทประกันชีวิต, สหกรณ์ นายจ้าง-สวัสดิการ, บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์, กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน, กบข. ลดไปเล้ยยย 100,000 บาท
  • 12. ค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ม.ค. ? มิ.ย. : หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 750 บาท (5%) ก.ค. ? ธ.ค. : หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงไม่ เกินเดือนละ 450 บาท (3%) รวม 7,200 บาท
  • 13. ค่าลดหย่อนเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 300,000 บาท
  • 14. ค่าลดหย่อนเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา เช่น จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษา 2 เท่า ของเงินสนับสนุน แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
  • 15. ค่าลดหย่อนเงินบริจาค 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน 14 ประเภท

สรุปรวมค่าลดหย่อนภาษีในปี 2553 นี้ มีชนิดของค่าลดหย่อน

  • – ค่าลดหย่อนส่วนตัวของผู้มีเงินได้ 30,000
  • – ค่าลดหย่อนคู่สมรสของผู้มีเงินได้ 30,000
  • – ค่าลดหย่อนบุตร 15,000
  • – ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตร 2,000
  • – ค่าลดหย่อนบิดามารดา 30,000
  • – ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา 15,000
  • – ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 100,000
  • – ค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000
  • – ค่าลดหย่อนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF 500,000
  • – ค่าลดหย่อนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน LTF 500,000
  • – ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย 100,000
  • – ค่าลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม (ปี 2552) 7,200
  • – ค่าลดหย่อนเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 300,000
  • – ค่าลดหย่อนเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา
  • – ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้องค์การสาธารณกุศล