ประเทศไทยจะพัฒนาไปอย่างไร หากคนหนุ่มสาวยังวิ่งเข้าหาสังคมที่พัฒนาแล้ว เช่นในเมืองใหญ่ ละทิ้งบ้านเกิดเมืองนอน หลายคนวิ่งออกนอกประเทศซะด้วยซ้ำเพื่อหางานทำ นำเงินเข้าประเทศ เม็ดเงินเหล่านั้นกลับเข้ามาพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิดจริงหรือ หรือแค่เพียงนำเข้ามาพัฒนาเมืองหลวงในประเทศ อย่างประเทศไทย ทุกวันนี้คนทั่วโลกหรือคนไทยด้วยกันเองส่วนใหญ่เข้าใจว่า ประเทศไทยก็คือกรุงเทพฯ แต่หาใช่อย่างที่คิด ประเทศไทย ไม่ได้มีแค่กรุงเทพ
เราลืมนึกกันไป หรือลืมอะไรบางสิ่งบางอย่างไปหรือเปล่า ที่ว่า ประเทศไทย ไม่ได้มีแต่ กรุงเทพฯ ยกตัวอย่าง เมืองโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น เมืองที่ผู้คนเอาจริงเอาจัง มีการจัดการที่ดี ทำเป็นลำดับขั้นไปเรื่อยๆ ค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง ในขณะที่คนไทยเรานั้น บางทีใจร้อน อยากได้เร็ว วิ่งหาทางลัด ลอกเลียนแบบคนอื่น เพราะมองว่าเป็นความสำเร็จแบบทางลัด แต่หารู้ไม่ว่า การcopy นั้นเป็นการได้มาแต่เปลือก แต่หาใช่แก่นแท้ เนื้อแท้นั้นไม่ สังคมไทยชอบที่จะมีคนหยิบยื่นปลาให้กินไปวันๆ แทนที่จะขอเรียนรู้วิธีตกปลาเพื่อหากินเองได้ในอนาคต
หลายคนให้ความเห็นว่า หลักการพัฒนาประเทศ ต้องเริ่มที่ตัวจังหวัด เมื่อการพัฒนาจังหวัดให้ดี ประเทศก็เจริญตามลำดับขั้นโดยในความคิดผมมันถูกครึ่งเดียว เพราะการพัฒนาจังหวัด ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่จะพัฒนาจังหวัดที่ดี และเด่น แต่ควรพัฒนาจังหวัดที่ล้าหลังให้ขึ้นมาเทียบเท่าหรือใกล้เคียงจังหวัดดีเด่นก่อน แล้วค่อยไปส่งเสริมจังหวัดที่ดีเด่นให้ดียิ่งขึ้น จังหวัดไหนทรัพยากรมีน้อย เช่น แหล่งท่องเที่ยว แหล่งสินค้าอุปโภค บริโภท แหล่งคมนาคม สินค้าอื่นๆ ปัจจัยอื่นๆ มีน้อย ควรเร่งสร้างปัจจัยเหล่านั้นให้มาก ส่วนจังหวัดไหนมีปัจจัยดีอยู่แล้ว ส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ให้ถูกต้อง
ไม่ใช่ขนปัจจัยของทุกๆ จังหวัดมาไว้ที่เมืองหลวงแต่เพียงแห่งเดียว เพราะจุดประสงค์เพื่อให้เมืองหลวงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ผู้บริหารประเทศน่าจะมองมุมกลับที่ว่า ภูมิประเทศของไทย จังหวัดไหนเหมาะจะทำอะไรออก ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่เฉพาะเมืองหลวง ที่เป็นแค่จังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศอันดับ 9 และโดยพยายามทำตัวให้เหมือนอึ่งอ่างได้แต่พองตัวแค่ไม่ได้ใหญ่จริงจากแก่นแท้ เพียงแค่เป็นเมืองหลวงเท่านั้น แต่จุดแข็งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภูมิประเทศ ติดทะเล ทรัพยากรต่างๆ ก็ไม่มี อาศัยมาจากจังหวัดอื่นแทบทั้งสิ้น แต่ทำไมถึงพัฒนาได้ แล้วถ้าหากนำพื้นฐานต่างๆ มาปรับใช้กับจังหวัดอื่นๆ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถพัฒนาจังหวัดอื่นไปได้พร้อมกัน
ท้องถิ่นจะประสบความสำเร็จได้ ก็ด้วยการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นรากฐานของการดำเนินงานอย่างยั่งยืน งบประมาณแต่ละท้องถิ่นไม่ควรกระจายออกไปยังจุดศูนย์กลาง แต่ควรนำมาพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆ ได้ทันที โดยควรต้องผสมผสานแนวคิดในหลายๆ ด้านเข้ากับหลักสูตรการศึกษาของสถาบันการศึกษาแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสถาบันการศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งหมด อาจมีบ้างที่ให้เป็นมาตรฐานอย่างวิชาหลักๆ แต่ในส่วนอื่นๆ ก็ควรสอดแทรกรายละเอียดของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในท้องถิ่น และผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยการนำจุดเด่นของแต่ละแห่งมารวมเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลต่อไป
การอพยพของคนชนบทเข้าสู่เมือง การอพยพของคนชนบทเข้าเมืองของญี่ปุ่นและอีกหลายๆ ประเทศก็เหมือนกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชนบทในประเทศไทยทุกวันนี้ บางส่วนเขาอาจมองว่าเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้ชีวิตอยู่รอดได้ แต่ก็มีอีกมากที่เป็นเหมือนความใฝ่ฝันของคนหนุ่มคนสาวในชนบทที่ว่า เมื่อโตขึ้นแล้วต้องเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่ให้ได้ เพราะ Role Model ของเขาอยู่ที่นั่น อนาคตที่สดใสรอเขาอยู่ที่นั่น เขาไม่เคยมี Role Model อยู่ในบ้านเกิดเขา ไม่เคยมีอยู่ในชนบท ไม่เคยมองเห็นอนาคตในชนบทที่สดใสของเขา นั่นคือปัญหา
ทางแก้ก็อาจทำได้อยาก เพราะหากว่ามันทำง่ายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น อเมริกา หรือแม้กระทั้ง จีน เอง ก็คงเจริญไปมากกว่านี้มาก แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังไม่หยุดอยู่กับที่ โดยเทียบอัตราการพัฒนาท้องถิ่นหรือจังหวัดต่างๆ ในประเทศ หากมองดูแล้วมีการพัฒนาไปในทางที่มากขึ้น หันมามองประเทศไทย คนไทยเราเอง ยังคงไร้การเหลียวแล มองแค่จังหวัดใกล้ๆ เมืองหลวง หรือในเมืองหลวงเอง บางอำเภอ บางเขตปกครอง ยังอยู่เหมือนกับจังหวัดริมชายแดนหลังเขา ทั้งๆ ที่นั่น คือเมืองหลวงของประเทศ เป็นจังหวัดที่น่าจะมีทุกๆ อาณาบริเวณ ที่ถูกพัฒนาไปแล้วด้วยซ้ำ ผู้ปกครองประเทศ มัวไปทำอะไรอยู่
การแก้ไขปัญหาให้ท้องถิ่นพัฒนาได้นั้นมีระบบจัดการซับซ้อน เอาง่ายๆ สมมติว่าจังหวัดไหนมีทรัพยากรที่เป็นประโยชน์มากก็จัดให้จังหวัดนั้นเป็นแหล่งหมุนเวียนรายได้ พัฒนาครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดไหนมีทรัพยากรน้อยก็รณรงค์ให้มีการสร้างจุดเด่นของท้องถิ่น เพิ่มจุดแข็งในการแข่งขัน หรือ OTOP การหาศักยภาพของท้องถิ่นตัวเองเพื่อสร้างจุดแข็งที่โดดเด่น ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ พยายามสร้างความสมดุล ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท พื้นที่ห่างไกล อยู่ในถิ่นทุรกันดาลให้ดึงพลังจากภายใน เพิ่มความโดดเด่นให้กับพื้นที่ซึ่งแตกต่างจากที่อื่น สร้างจุดขายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ การเกษตร หัตถกรรม การท่องเที่ยว อื่นๆ อีกมากมาย
ปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เทียบเท่ากันทุกจังหวัด อาจไม่เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและผลักภาระให้แก่ธุรกิจ ดังนั้นรัฐจึงต้องหันมาช่วยเหลือธุรกิจกลุ่มนี้ด้วยการสร้างจุดแข็งหลายๆ ทาง อย่างที่กล่าวมาข้างต้น โดยในระยะสั้นอาจมีการลดภาษีหรือช่วยทำให้กลุ่มนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น
ก็เป็นระบบที่ซับซ้อนมากมายแตกแขนงลงไปอีกหลายๆ ขั้นตอน แต่จุดประสงค์หลักก็เพื่อให้คนหนุ่มสาวไม่หนีหายไปจากบ้านเกิด คนที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หญิง เด็กที่หลงเหลืออยู่ในชนบท ให้กลับมามองเห็นคุณค่าของตัวเอง ของบ้านเกิด มีความรู้สึกภาคภูมิในในตัวเองและบ้านเกิด ภาคภูมิใจในชุมชนของตัวเองกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
ผลักดันให้คนหนุ่มสาวเห็นอนาคตตัวเองในชุมชน ไม่ต้องฝันถึงการไปใช้ชีวิตในเมืองใหญ่อีกต่อไป