การเลือกซื้ออุปกรณ์ computer นั้น ในปัจจุบันนี้ ข้อมูลหลายแห่งมีการแนะนำการเลือกซื้ออุปกรณ์ตามงบและความหลากหลายของอุปกรณ์แต่ละอย่างเพิ่งเปรียบเทียบราคาและความเร็วในส่วนต่างๆ แต่วันนี้จะมาบอกในสไตล์ของผมเอง ซึ่งบางท่านอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ขออธิบายในสไตล์ของตัวเองดีกว่า ว่ามันอาจจะเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายกว่าสำหรับมือใหม่
การเลือกซื้อ CPU ในปัจจุบัน ซึ่ง การเลือกซื้อ cpu ข้อมูลปัจจุบัน นั้นมีหลากหลายแนว ด้วย technoloty computer นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากแทบเรียกได้ว่าสามารถนับเป็นวินาทีกันเลยทีเดียว สำหรับการเลือก cpu ให้ตรงตามใจนั้น ก่อนอื่นขอแนะนำให้เลือกซื้อ cpu ก่อน ขอแบ่งเป็น 3 กลุ่มเพื่อความเข้าใจ และใช้ตัวอย่างของ Intel มาเพื่อง่ายและเป็นสากล ส่วนถ้าคนชอบ AMD ก็หาข้อมูลเทียบรุ่นกับ Intel ดู เช่น celeron ก็เทียบกับ Sampron การเทียบคือความสามารถเทียบเท่ากันแต่ต่างยี่ห้อ รับประกัน 3 ปี หรือง่ายๆ ก็เหมือนรถ CITY กับ VIOS ที่ทุกอย่างเหมือนกันแต่ต่างกันที่ ยี่ห้อ
แบ่งกลุ่ม cpu ตามการใช้งาน
- กลุ่มที่ 1 ใช้งานด้านออฟฟิศ เล่นเน็ต ดูหนังฟังเพลง ถ้าใช้งานในกลุ่มนี้ก็เลือกใช้ซีพียูที่เป็นพวก celeron 2.8-3.0 Ghz (Ghz คือ ความเร็วในการประมวลผลของซีพียู ยิ่งมากยิ่งเร็วและยิ่งแพง) ราคาจะอยู่หลักพันปลายๆ
- กลุ่มที่ 2 ดูหนังฟังเพลง แต่งภาพ เขียนแบบ 2D ทำกราฟฟิค แต่ไม่ถึงกับงาน 3D ชิ้นใหญ่จะ Render งานไม่รอด , หรือใช้เล่นเกมส์แบบปกติไม่หวือหวามาก ถ้ากลุ่มนี้ใช้ซีพียูพวก Core Duo 2.8-3.0 Ghz
- กลุ่มที่ 3 ทำ Graphics งานด้าน 3D งานตัดต่อ VDO,ภาพยนต์ ทำ STUDIO ห้องอัดเพลง แต่งเสียง เขียนแบบ 3D ,เล่นเกมส์แบบละเอียดมากๆ ควรจะใช้ซีพียู Core 2 Duo 2.8-3.0Ghz ขึ้นไป
ถ้าอยากรู้ว่า Duo Core กับ Core 2 Duo ต่างกันอย่างไรแล้วค่อยมาอธิบายภายหลังดีกว่า เดี๋ยวจะไม่จบ วันนี้ขอมาฟัง การเลือกซื้อ cpu ข้อมูลปัจจุบัน กันก่อน
การเลือกซื้อ Mother Board หรือ Main Board จำเป็นสำหรับการใช้งาน และให้เข้ากับ cpu ที่ได้เลือกไว้แล้วด้วย เพราะ board บางตัวก็ทำไว้สนับสนุน cpu สำหรับบางตัวเช่นเดียวกัน Mother Board หรือ Main Board หลังจากที่เราได้เลือกซีพียูแล้ว ก็หาเมนบอร์ดสักตัว โดยคำนึงถึง Socket ถ้าเป็นของ Intel ก็ Socket 775 หรือ AMD ก็ Socket AM2 จากนั้นก็เลือกดู chip set ว่าของบริษัทใด เช่น VIA,SIS,Intel ซึ่งราคาก็ต่างกันด้วยตามการเรียงลำดับ จากนั้นดูว่าการ์ดจอ ออนบอร์ดหรือไม่ แต่ถ้างบเหลือซื้อการ์ดจอออนบอร์ดไว้ไม่เสียหายแพงกว่านิดหน่อย เพราะถ้าเราซื้อการ์ดจอนอกใส่แล้ว เมื่อการ์ดจอเสียก็ส่งเคลมการ์ดจอ แล้วใช้การ์ดจอออนบอร์ดไปก่อนจนกว่าการ์ดจอนอกจะเคลมกลับมา นอกนั้นก็พื้นฐาน Port Com,LPT,USB,LAN,IDE,SATA,PCI Slot,PCI Express Slot แต่ต้องดู Bus ของเมนบอร์ดด้วยว่ารองรับซีพียูของเราหรือไม่ เช่น CPU BUS 800MHz เมนบอร์ด Bus 1333 ก็โอเค รับประกัน 3 ปี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การเลือกซื้อ cpu ข้อมูลปัจจุบัน
การเลือกซื้อ RAM ให้เราดู Bus ให้สอดคล้องกับ CPU เช่น CPU Bus FSB 800 MHz เราก็เลือกซื้อแรมให้รองรับกับซีพียูเพื่อลดปัญหาคอขวด ปัจจุบันความเร็ว Bus ของแรมสามารถรองรับซีพียูได้แล้ว แรมแบ่งออกเป็น 3 ชนิดในปัจจุบัน คือ SD-RAM Bus 100-133 Mhz DDR-RAM Bus 266-400 Mhz DDR2 Bus 533-800 Mhz (Bus คือ เส้นทางการส่งข้อมูลถ้า Bus สูงก็จะทำให้ข้อมูลสามารถผ่านได้มากๆในเวลาอันสั้น เช่น ถนนให้รถวิ่ง ถ้าถนนกว้างรถก็จะสามารถผ่านไปได้จำนวนมากในเวลาที่เท่ากันกับถถนที่แคบกว่า ) รับประกัน Lifttime
เลื้อกซื้อ Case หรือกล่องสำหรับใส่อุปกรณ์ computer ที่มีทั้งหมด (ยกเว้นบางประเภท เช่น mouse, keyword) หลายคนสับสนว่า case คือเครื่องคอม ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ case จริงๆ คือกล่องสำหรับใส่เท่านั้นเอง การเลือกซื้อกล่องนั้น ควรคำนึงถึงการระบายความร้อนภายในตัวเครื่องเป็นหลักโดยดูขนาดไม่ควรเล็ก และพัดลมระบายอากาศภายใน รองลงมาก็ดูถึงพื้นที่การติดคั้งอุปกรณ์ต่างๆ สามารถติดตั้งได้ง่ายไม่แคบเกินไป จากนั้นดู power supply ว่าเพียงพอต่ออุปกรณ์หรือไม่โดยทั่วไป power supply 400-450w ก็พอครับ จากนั้นค่อยว่ากันถึงเรื่องความสวยงามของ case ต่อไป บางท่านอาจเลือก case ที่ถูกใจโดยไม่สนใจอย่างอื่นประกอบอันนี้ก็ไม่ว่ากัน แล้วแต่ความชอบส่วนตัว แต่อยากให้คำนึงถึงผลที่ตามมาในขณะใช้งานด้วยก็ดี
การเลือกซื้อ Harddisk ควรคำนึงถึงปริมาณข้อมูลที่จะเก็บหรืองานที่จะนำไปใช้ เช่น ถ้าคุณประกอบให้ลูกค้าไปใช้งาน ออฟฟิศทั่วไป 160 Gb ก็เหลือเฟือครับที่ให้ 160 Gb เพราะราคา 80Gb ถูกกว่า 160Gb อยู่ประมาณ 200 บาทเราควรเลือก 160 Gb ถ้างานทำวีดีโอก็ควรเลือก 300-500 Gb รับประกัน 5 ปี แต่แนะนำว่า สำหรับ Harddisk ที่อยู่ในเครื่ืองแล้ว เอาพอใช้ก็ได้เช่นมาตรฐานก็ 160 Gb ก็เหลือเฟือ เพราะปกติแล้วการใช้งานเราไม่ได้เก็บไฟล์อะไรไว้มากมาย ยกเว้นไฟล์ระบบที่ install เข้าไป แนะนำให้หา External Hardisks มาใช้ดีกว่าสำหรับไฟล์งาน ในกรณีเครื่องเสียทำการซ่อมบำรุงง่ายกว่า และ External Hardisk นั้นหากไม่ทำรุณแรงกับมันก็ยากที่จะพังง่ายๆ
การเลือกซื้อ การ์ดจอ หรือ VGA-Card การ์ดจอปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แบบ AGP และ PCI-Express ซึ่งควรคำนึงถึง เมนท์บอร์ดที่เราใช้อยู่ว่ามี slot รองรับการ์ดจอชนิดใด จากนั้นก็ดูแรมของการ์ดจอ เช่น 128Mb 256Mb 512Mb 1Gb เป็นต้นซึ่งถ้าแรมของการ์ดจอมากก็ยิ่งช่วยให้การแสดงผลราบรื่นขึ้นตามไปด้วย แรมในที่นี้ไม่เกี่ยวกับแรมของเครื่องน่ะครับ เป็นแรมที่อยู่บนการ์ดจอเลย ซึ่งมีทั้งชนิด DDR และ DDR2 ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนท์บอร์ดว่ารองรับชนิดไหน รับประกัน 3 ปี
ส่วนที่เหลือ ก็มีพวก CD-Drive ปัจจุบันราคา DVD-RW ราคาตัวไม่ถึง 1000 บาทรับประกัน 1 ปีตัวนี้ไม่ต้องคิดมากครับเลือกยี่ห้อที่ชอบมาเลย 1 ตัว รับประกัน 1 ปี SOUND CARD เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสังเคราะห์เสียงโดย Sound Card จะเป็นได้ทั้ง Input และ Output ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Input เมื่อนำสัญญาณเสียง ที่ได้จากภายนอกมาประมวลผล และทำหน้าที่เป็น Out Put เมื่อนำข้อมูลที่เก็บในรูปไฟล์ซึ่งมีหลาย Format ต่างๆ กันออกไปมาประมวลผล และส่งออกไปเป็นสัญญาณที่ Output เช่น MPEG, AVI, REM เป็นต้น ขึ้นกับ Software ที่ใช้ ซึ่งจะมีการแปลงข้อมูลจาก Digital (สัญญาณที่ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น 0,1 ซึ่งอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูล) ไปเป็นสัญญาณ Analog (สัญญาณที่ต่อเนื่องกัน เช่น สัญญาณเสียง) ส่งสัญญาณผ่าน Out Port เพื่อให้เกิดเสียง
ในปัจจุบันมี Main Board บางรุ่นที่ Build in Sound Card ในตัว โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ โดยทั่วไป Sound Card จะใช้ 16 Bits ซึ่งใช้ ISA Bus เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ ไม่ต้องการความเร็วที่สูงมาก และบางประเภทที่ใช้ระบบบัสเป็น PCI ซึ่งเป็น Sound Card ที่มีราคาสูง
งบที่เหลือ จัดไปอยู่ในส่วนของ การเลือกซื้อ Monitor เพราะหากว่าอุปกรณ์ต่างๆ ดีมาก ประสิทธิภาพสูงมากๆ แต่ไม่มีเงินเหลือซื้อ monitor แล้วก็จบเห่ เพราะการแสดงผลเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งได้ monitor ดี แสดงความละเอียดได้ตามอุปกรณ์ที่ติดตั้ง สนับสนุนการ์ดต่างๆ ที่มี ก็จะยิ่งดีมาก เพราะจอภาพที่ใช้แสดงข้อมูลหรือโปรแกรมก็เป็นอุปกรณ์ OUTPUT อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันจอภาพให้หลายขนาด ได้แก่ 14 นิ้ว 15 นิ้ว 17 นิ้ว และ 19 นิ้ว และมีหลายแบบให้เลือก ทั้งจอภาพธรรมดา (CRT จอใหญ่เหมือนทีวี อ้วน) หรือจอภาพแบน แอลซีดี (LCD จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) ถ้าพื้นที่โต๊ะทำงานแคบๆ ควรใช้แบบ LCD ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า CRT